บทที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

1.ความสำคัญของโปรแกรมยูทิลิตี้
   
 ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ก้าวหน้าขึ้นมาก ความต้องการของผู้ใช้ในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โปรแกรมยูทิลิตี้จะช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์และช่วยประหยัดเวลาการทำงานให้กับผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและปรับแต่งการทำงานของระบบปฏิบัติการและช่วยปรับปรุงฮาร์ดแวร์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

2.ประโยชน์ของโปรแกรมยูทิลิตี้

   ประโยชน์ที่จะได้รับจากโปรแกรมยูทิลิตี้มีมากมายหลายประเภท ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังนี้
     1.การจัดการข้อมูลในดิสก์และไฟล์
          เช่น โปรแกรมสำหรับการเตรียมรูปแบบการบันทึกข้อมูลบนดิสก์หรือการฟอร์แมต (Format) โปรแกรมช่วยในการย้ายข้อมูลหรือคัดลอกข้อมูลได้โดยสะดวก โปรแกรมช่วยค้นหาไฟล์ข้อมูลโดยระบุเงื่อนไขของไฟล์ที่ต้องการ โปรแกรมช่วยลดขนาดไฟล์ในการจัดเก็บบันทึกให้เล็กลง (File Compression) ซึ่งสามารถขยายไฟล์กลับมาใช้งานตามปกติ โปรแกรมช่วยกู้ไฟล์ที่ถูกลบกลับคืน (Undelete) โปรแกรมช่วยเปรียบเทียบหาไฟล์ที่เหมือนกัน
   
  2.การตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
          เช่น โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ (Diagnostic Program) โปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร (Resource Utilization Performance Meter) โปรแกรมช่วยจัดระเบียบข้อมูลในดิสก์ (Disk Defragmentation) โปรแกรมลบข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ใช้งานในระบบ (Disk Cleanup) โปรแกรมตรวจวัดความสามารถของระบบ (Benchmark test)
    
 3.การจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์
          เช่น โปรแกรมช่วยสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลสำรอง (Backup and Recovery) โปรแกรมช่วยซ่อมไฟล์ข้อมูลหรือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในดิสก์ที่เสียหาย (File and disk repair) โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส (Antivirus) ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส คือ โปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลทั้งฮาร์ดดิสก์ ฟอลปปี้ดิสก์ และหน่วยความจำ เพื่อตรวจหาโปรแกรมไวรัส โดยโปรแกรมจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบหากตรวจพบไวรัสและทำลายไวรัสให้ทันที เช่น โปรแกรม NOD32 Antivirus เป็นต้น
  
   4.การเพิ่มความสะดวกในการทำงาน
         เช่น โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานอัตโนมัติให้แก่คอมพิวเตอร์ (Task Scheduler) โดยตั้งเวลาเริ่มต้นให้โปรแกรมทำงานทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน หรือตามวันที่กำหนด เป็นต้น โปรแกรมขอความช่วยเหลือ (Script Flie) ตัวอย่างการสร้างขั้นตอนอัตโนมัติ การใช้ไฟล์ชนิดแบตช์ (Batch File) ในเอ็มเอสดอส กำหนดขั้นตอนการสั่งให้โปรแกรมทำงานตามลำดับ ในวินโดวส์ก็มีโปรแกรม WinBatch เป็นต้น
     5.ช่วยในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
           เช่น โปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินอล (Terminal Emulator) โปรแกรมเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ (Computer to Computer Connection) ช่วยสร้างการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ต่อเชื่อมกันระหว่างเครื่องต่อเครื่อง อาจต่อเชื่อมกันผ่านอุปกรณ์โมเด็มและโทรศัพท์หรือต่อกันโดยพอร์ตและสายสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นพอตร์อนุกรมอาร์เอส 232 หรือพอร์ตขนาน ซึ่งปกติใช้กับเครื่องพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งควบคุมเครื่องอื่นๆ ในการทำงานระยะไกล เป็นต้น
   
  6.ใช้เพื่อการประหยัดพลังงาน
     เช่น โปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Saver) ช่วยป้องกันความเสียหายของจอภาพจากการแสดงภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลายาวนาน เมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่เปิดเครื่องเอาไว้ จอภาพจะแสดงภาพอยู่นิ่งๆ ซึ่งการแสดงภาพเดียวนานๆ จะทำให้เกิดความเสื่อมของสารฟอสฟอรัสที่เคลือบนั้น โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์จะทำงานอัตโนมัติ ถ้าภาพที่อยู่บนจอภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้กำหนดได้โดยจะแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอที่มีการเปลี่ยนแปลงของภาพแทนการแสดงผลเดิมช่วยลดการมัวของจอภาพโดยลดความสว่างของจอภาพลง หรือแสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ ได้แก่ สกรีนเซฟเวอร์ชื่อ 3D Text, Bubbles, Google Photos Screen saver Mystify, Photo and Ribbons ดังรูป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง เพื่อให้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรม  DOX, UNIX  หรือ...