วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง เพื่อให้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรม DOX, UNIX หรือ Windows เป็นต้น การมีซอร์ฟแวร์ระบบหรือโปรแกรมระบบปฏิบัติการนี้ทำให้สามารถเพิ่มโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์ได้ง่ายอีกด้วย เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน ซอร์ฟแวร์ระบบนี้จะถูกโหลด (load) ขึ้นมาทำงานเป็นลำดับแรก
2.1 ระบบปฏิบัติการคืออะไร
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอร์ฟแวร์หรือเฟิร์มแวร์ (firmware คือ โปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโคโค้ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ROM และ PROM ) หรือทังซอร์ฟแวร์ และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
ความสำคัญของระบบปฏิบัติดาร
ถ้ามีรถยนต์อยู่แต่ขับไม่เป็น รถยนต์คันดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ไม่มีระบบปฏิบัติการคอยควบคุมการทำงานซึ่งเปรียบได้กับรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีความสำคัญเปรียบเสมือนกับคนขับรถยนต์ที่ต้องควบคุมรถให้เดินทางถึงที่หมายอย่างถูกต้องและปลอดภัย ระบบปฏิบัติการก็จะต้องควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการเพื่อให้ไดเผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
          ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการไม่ได้นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ต่างๆ เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่นเกมหรือแม้กระทั่งเครื่องซักผ้า ก็มีระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานต่างๆ เช่นกัน แต่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบสำหรับอุปกรณ์นั้นๆ โดยเฉพาะ
2.2 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
          หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์ อินพุต-เอาต์พุต อุปกรณ์สื่อสาร และข้อมูล
          หน้าที่รอง ประกอบด้วย
          1. เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (user interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงาน ของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพ (Graphic User Interface: GUI) ดังรูป
ลักษณะการทำงานของ OS ในการเป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้
1.  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่จะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คน ขึ้นไป และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เป็นต้น
2.  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิในข้อมูลนั้นๆ และช่วยจัดคิวของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
3.  แก้ไขปัญหาการทำงานของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในขณะที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่เสมอ
4.  ช่วยให้หน่วยอินพุต-เอาต์พุตทำงานได้คล่องตัว ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตต่างๆ ต้องอาศัยระบบปฏิบัติการเพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน
5.  คำนวณทรัพยากรที่ใช้ไป ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อระบบปฏิบัติการจะช่วยคำนวณทรัพยากรที่ใช้ไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
6.  ช่วยให้ระบบทำงานเป็นแบบขนาน ระบบปฏิบัติการจะแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ เรียกว่า โปรเซส (Process)  ซึ่งจะทำให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น
7.  จัดการโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อข้อมูลและมีการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
8.  ควบคุมการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย เนื่องจากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการับส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบ ซึ่งการติดต่อสื่อสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัย ระบบปฏิบัติการในการ

ควบคุมการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
2.3 หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ
         เนื่องจากการทำงานของระบบปฏิบัติการ คือ การจักการโปรแกรมต่างๆ ที่กำลังทำงานให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมต่างๆ  ที่กำลังทำงานอยู่นั้น เรียกว่า โปรเซส (Process) ดังนั้นในการอธิบายหลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะขอกล่าวถึงวิธีจัดการทำงานโปรเซสของระบบปฏิบัติการว่ามีกระบวนการอย่างไรบ้าง   เมื่อระบบปฏิบัติการสร้างโปรเซสขึ้นมา ก็จะมีการนำโปรเซสดังกล่าวเข้าสู่ระบบการทำงาน ดังแสดงในรูป ซึ่ง


ขั้นตอนการทำงานจะแบ่งตามสถานะของโปรเซส 














มัลติมีเดีย

ความหมายของมัลติมีเดีย

"มัลติมีเดีย" เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
องค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้


มัลติมีเดียมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. คอมพิวเตอร์  เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นได้ยิน สามารถโต้ตอบแบบปฏิสัมพันธ์ได้
2. การเชื่อมโยง สื่อสาร ทำให้สื่อต่าง ๆ ไหลเข้ามาเชื่อมโยงและนำเสนอได้
3. ซอฟต์แวร์  ทำให้เราท่องไปในเครือข่ายที่เชื่อมโยงข่าวสาร
4. มัลติมีเดีย ต้องให้เราในฐานะผู้ใช้สามารถสร้าง ประมวลผล และสื่อสารข่าวสารต่าง ๆ ได้
มัลติมีเดียจึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายอย่างที่ประกอบกัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็ไม่สามารถเรียกว่า "มัลติมีเดีย" เช่นถ้าขาดคอมพิวเตอร์จะทำให้เราไม่สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่มัลติมีเดีย..น่าจะเรียกว่าการแสดงสื่อหลายสื่อ แต่ถ้าขาดการเชื่อมโยงสื่อสาร ก็จะเหมือนกับเป็นข่าวสารไว้ในชั้นหนังสือ หรือถ้าขาดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เราท่องไปหรือมีส่วนเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วยก็จะเหมือนกับดูภาพยนตร์และถ้าขาดช่องทางที่จะให้ผู้ใช้เข้าไปมีส่วนร่วม ก็จะเหมือนกับโทรทัศน์
ช่องสัญญาณสื่อสารสำคัญต่อมัลติมีเดีย


มัลติมีเดียประกอบด้วยเทคโนโลยีการสร้างและประมวลผลวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและรูปภาพ เมื่อมีการสื่อสารร่วมด้วย ทำให้ต้องใช้ช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) รองรับการทำงานสื่อสารสองทิศทาง โดยเน้นการย่นระยะทางไกล ๆ ให้เสมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสื่อสารข้อมูลที่รองรับมัลติมีเดียต้องมีการรับประกันการบริการ (QoS - Quality of Service) กล่าวคือ การับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็นสายข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจะต้องถึงปลายทางตามกำหนดเวลา และให้รูปแบบที่ต่อเนื่องได้ลองนึกดูว่าหากต้องการส่งหรือรับข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวก็ดี เสียงก็ดีจะต้องมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะขาดหายเป็นช่วง ๆ ไม่ได้ ดังนั้น คุณภาพของระบบมัลติมีเดียจึงเกี่ยวโยงกับระบบสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลอันรวดเร็วมากของซีพียูในคอมพิวเตอร์ด้วย
เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล


สิ่งที่สำคัญตามมาคือ "มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง
ชนิดของโปรโตคอลสื่อสาร


เราแบ่งแยกชนิดของโปรโตคอลสื่อสารให้รองรับในระบบมัลติมีเดียออกเป็น 2 แบบคือ "โปรโตคอลเชื่อมโยง (Connection Protocol)" และ "โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง (Connection Protocol)"
"โปรโตคอลเชื่อมโยง" หมายถึง ก่อนการรับส่งสายข้อมูลจริง จะต้องมีการตรวจสอบสำรวจหาเส้นทาง เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งเชื่อมโยงกันได้ก่อน จากนั้นสายข้อมูลจึงจะไหลไปตามการเชื่อมโยงนั้น
"โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง" อาศัยการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีการกำหนดแอดเดรสไว้บนแพ็กเก็ต อุปกรณ์สื่อสารบนเส้นทางจะส่งต่อกันไปจนถึงปลายทางได้เอง
ดังนั้น การใช้มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงต้องมีการพัมนาเทคโนโลยีต่าง ๆ บนโปรโตคอลทั้งสองนี้ให้ใช้งานได้บนเครือข่าย ลักษณะของการประยุกต์มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงมีหลายรูปแบบ คือ
"การสื่อสารแบบ Broadcast" คือสถานีบริการหนึ่งสามารถส่งกระจายข่าวสารมัลติมีเดียไปให้กับผู้ขอให้บริการ (Client) ที่อยู่บนเครือข่ายได้ทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน โดยต้องการให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับได้ นั่นคือร่วมเล่นเกมโชว์จากทางบ้านได้ เป็นต้น
"การสื่อสารแบบ Unicast or pointcast" เป็นการกระจายข่าวสารจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลแอนต์ในลักษณะเจาะจงตัว เช่น เซิร์ฟเวอร์เป็นสถานีบริการข่ายผู้ใช้อยู่ที่บ้านต้องการรับข่าวสารก็สามารถบอกรับ โดยเลือกหัวข้อข่าวสารต่าง ๆ ตามที่ตนเองสนใจ เมื่อเซิร์ฟเวอร์มีข่าวใหม่ในหัวข้อที่ผู้ใช้คนใดสนใจก็จะติดต่อส่งข่าวสารมาให้โดยเลือกส่งเฉพาะบุคคล
"การสื่อสารแบบ Multicast" การสื่อสารแบบนี้แตกต่างจากแบบ Broadcast ซึ่งกระจายข่าวสารทั่วทั้งเครือข่าย แต่ Multicast จะกระจายแบบเจาะจงไปยังผู้ใช้ตามที่ได้เรียกขอมา

 

การพัฒนาระบบเครือข่าย


หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไร



สายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก ปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า "Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย

ประวัติ

ชื่อ นางสาวสุพัตตรา  บุญทด อายุ17 กำลังศึกษาอยู่ชั้น ปวช 2 
วิทยาลันเทคโนโลยีบัวใหญ่ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
อาศัยอยู่ที่ 33/16 บ้านหนองปรือพัฒนา ต.โคกกระเบื้อง อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา 30350
เคยศึกษาอยู่ โรงเรียนบ้านหนองปรือโป่ง




ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง เพื่อให้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรม  DOX, UNIX  หรือ...